แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานกี่ปี?
ติดป้ายกำกับ: อายุแบตเตอรี่, แบตเตอรี่, แบตเตอรี่รถยนต์
- This topic has 1 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 9 months, 1 weeks มาแล้ว by
7one011.
- ผู้เขียนข้อความ
- 03/07/2024 เวลา 11:38 น. #2984
7one011
Keymasterแบตเตอรี่เป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพราะแม้ว่าเครื่องยนต์จะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ขนาดไหน แต่หากขาดแบตเตอรี่ไปแล้วล่ะก็ รถยนต์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย แล้วทราบหรือไม่ว่าแบตเตอรี่จะต้องเปลี่ยนทุกกี่เดือนกี่ปีจึงจะเหมาะสม?…
03/07/2024 เวลา 11:39 น. #29867one011
Keymasterโดยปกติแล้วแบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 5 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อ รวมถึงระบบไฟฟ้าของรถยนต์แต่ละรุ่นอาจส่งผลให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่แตกต่างกันออกไป (โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานแบตเตอรี่โดยตรง เช่น ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท ฯลฯ)
ดังนั้น การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ควรกระทำเมื่อแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้สำคัญว่าถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่แล้ว โดยสามารถสังเกตจาก 5 อาการดังนี้
รถสตาร์ทยากผิดปกติ – หากเริ่มรู้สึกว่าเครื่องยนต์สตาร์ทยากผิดปกติ ใช้ระยะเวลาสตาร์ทนานขึ้น รวมถึงเสียงไดสตาร์ทเริ่มช้าลง มีความเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หากไม่ได้เปลี่ยนแบตเตอรี่เกิน 1-2 ปี ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่โดยเร็ว
ไฟหน้ารถไม่สว่าง – ไฟหน้ารถแบบฮาโลเจนเป็นอุปกรณ์ที่กินไฟค่อนข้างมาก หากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพจะทำให้ความสว่างของไฟหน้าลดน้อยลง อาจพบเจออาการไฟกระพริบเมื่อดึงสวิตช์กดปิดหน้าต่าง หรือจังหวะที่คอมเพรสเซอร์แอร์มีการตัดต่อร่วมด้วย
ตาแมวแบตเตอรี่เปลี่ยนสี – แบตเตอรี่บางรุ่นอาจมีตาแมวใช้สำหรับแสดงสถานะการเก็บประจุไฟของแบตเตอรี่ลูกนั้นๆ ซึ่งโดยมากแล้วหากแบตเตอรี่สามารถเก็บไฟได้ตามปกติ จะปรากฏเป็นสีฟ้า แต่หากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และหากแบตเตอรี่เสื่อมสภาพโดยสมบูรณ์ก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เป็นต้น
ระบบไฟฟ้าทำงานผิดปกติ – รถยนต์รุ่นใหม่ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมาก จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของแบตเตอรี่ที่สมบูรณ์ หากแบตเตอรี่มีการเสื่อมสภาพอาจทำให้อุปกรณ์บางอย่างทำงานผิดแปลกไป
ทั้งนี้ แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่สูง สามารถใช้งานได้ยาวนาน จึงควรเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อถึงคราวจำเป็น จะได้ไม่เกิดอาการเสียกลางทาง ซึ่งอาจสร้างความลำบากอื่นๆ ตามมาได้
- ผู้เขียนข้อความ
- คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้